30 สิงหาคม 2554

เที่ยวอยุธยาหน้าฝน (27.Aug.2011)


หลักสี่ - รังสิต - อยุธยา
ใช้เส้นทาง Local road ตรงไปเรื่อยๆ

เส้นทางนี้นับว่าเป็นเส้นทางยอดนิยมของคนชอบปั่นจักรยาน
เพราะถนนสภาพดี รถวิ่งน้อย มีร้านอาหารอร่อย มีร้านกาแฟให้นั่งพัก
แถมราคาถูกมากๆ

จาก it-square หลักสี่ ถึงตัวเมืองอยุธยา ระยะทางประมาณ
60 กิโลกว่าๆ (ถ้ารวมระยะทางที่ปั่นหลงทางด้วยก็เกือบ 70 กิโล)

...........ผ่านตลาดโก้งโค้ง


......ผ่านหมู่บ้านญี่ปุ่น... ไม่เห็นมีบรรยากาศแบบในหนัง "ยามาดะ ซามูไรแห่งอโยธยา"
มีแค่พิพิธภัณฑ์เล็กๆ เก็บค่าเข้าชมคนละ 50 บาท




แวะกินข้าวในตัวเมืองอยุธยาตอนบ่าย ในขณะที่ท้องฟ้ากำลังมืดครึ้ม
ฝนตกกระหน่ำอย่างหนัก .... GAME OVER.... อดเที่ยวต่อ

ฝนตก..ยางแตก....แต่ไม่เป็นไร พกยางในสำรอง
เตรียมพร้อมเอาไว้แล้ว

นั่งจิบกาแฟหลบฝน รอเอาจักรยานขึ้นรถไฟกลับบ้าน

17 กรกฎาคม 2554

Riding Vintage Bike in a Vintage Town








19 พฤษภาคม 2554

04 พฤษภาคม 2554

วิถีแห่ง fixed gear

 

fixed gear เป็นจักรยานที่ผลิตขึ้นตามกติกาการแข่งขันในลู่แบบ velodrome
มีเกียร์เดียว เฟืองหลังเป็นแบบ "fixed" ไม่สามารถพักขาหรือหยุดปั่นในขณะที่
รถกำลังเคลื่อนทีได้

ตอนนี้กำลังกลายเป็นกระแสฮอตฮิตสำหรับเด็กแนว
เอามาปั่นโชว์กันบนถนน รูปแบบของจักรยานถูกปรับแต่งเน้นความสวยงาม
ต่างไปจากจักรยานแข่งขันแบบเดิม .....นับเป็นศิลปะในรูปแบบหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์
เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่ยังเหมือนเดิม ก็มีเพียงแค่ระบบขับเคลื่อน
ที่ควบคุมโคตรยากแบบ "FIXED GEAR"
ซึ่งมีข้อดีเพียงอย่างเดียว คือมันเป็นระบบส่งกำลังที่ยอดเยี่ยม
ใช้แรงเท่าไหร่ก็ให้ความเร็วเท่านั้น แต่ข้อเสียโครตเยอะ ลงเนินแต่ละครั้ง
ต้องปั่นตามจนเหนื่อย พักขาไม่ได้ ก็มันไม่ได้ถูกออกแบบเอาไว้ให้ใช้ตามท้องถนน
ดันเอามาใช้ผิดที่ผิดทางกันเอง...

fixed gear นับเป็นอารยธรรมเฉพาะกลุ่มส่วนหนึ่งของ street fashion ที่กำลังขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง มีรูปแบบ และวิถีเฉพาะทางในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย วิธีคิด รูปแบบการใช้ชีวิต ทัศนคติ การวางตัวในสังคม ฯลฯ.....

เรื่องมารยาทในการใช้พื้นที่สาธารณะ ชาวฟิกซ์ส่วนใหญ่ก็มีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
แต่บางส่วนที่ชอบรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่บนท้องถนน จะมีมารยาทเลว ก้าวร้าว
วิถีแห่งปัจเจกแบบ"เด็กฟิกซ์" บางส่วน กำลังก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกับ
อารยธรรมของ "เด็กแว๊น"

.......น่าเสียดาย......

12 ธันวาคม 2553

BMX never die


พรรคพวกที่รู้ว่าผมอยากได้ BMX โทรมาบอกว่ามีซาก BMX เก่าๆ ยี่ห้อ Merida
วางขายอยู่ที่วัดสวนแก้ว...ก็เลยออกปากขอร้องฝากซื้อมา โดยไม่จำเป็นต้อง
สอบถามสภาพ เพราะจักรยานที่ถูกทอดทิ้ง มักจะมีสารรูปเกินบรรยาย
ผุพังหมดสภาพ ไม่สามารถใช้งานได้ .....และมันก็เป็นอย่างที่คิดไว้จริงๆ

 
BMX - Bicycle Motocross (moto-X) คือความฝันของเด็กผู้ชาย
ในยุค 1975-1985 ซึ่งนับได้ว่าเป็นยุคทองของจักรยาน BMX
    เด็กๆในยุค '80 ผู้เคยครอบครองBMX  ในปัจจุบันก็คงอยู่ในช่วงอายุเกิน35 ปี
หลายๆคน ที่ยังผูกพันกับความสุขในการปั่น BMX ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่ม OS-BMX
เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่เคยผูกพันในอดีต และที่นี่คือแหล่งความรู้
ในการสืบหารุ่น สี และสติกเกอร์ในรูปแบบเดิม เพื่อบูรณะซาก Merida คันนี้


จนได้รู้ว่ามันคือ Merida-M2000 เป็นจักรยานที่ Merida ทำออกมาขาย
ในยุคอัสดงแห่ง BMX  (เป็นช่วงหลังๆที่เกือบเลิกฮิตกันแล้ว) นับเป็น
Generationที่3 ของmerida   ซึ่งในGenerationนี้ มี 3 รุ่น เรียงลำดับ
ตามคุณภาพ คือรุ่น M6000 ,M4000 และ M2000
       M2000 รุ่นบ๊วยของยุคที่3  อะไหล่ห่วยสุด ,น้ำหนักเยอะที่สุด
เพราะทำจากเหล็ก Hi-tensile ในขณะที่อีก 2 รุ่น ทำจากเหล็กรีดเบา
Chrome-Molibdinum (เรียกชื่อเล่นกันว่า Chromoly)

แม้จะเป็นรุ่นบ๊วย แต่ก็ เป็นจักรยาน ที่มีคุณค่ามากพอ ที่จะปลุกชีวิตมันขึ้นมาใหม่
ให้กลับมาสวยงาม ใช้งานได้สมบูรณ์ เหมือนอย่างที่มันเคยเป็นในอดีต 
 
ข้อดีของการที่มันถูกพ่นสีทับมาหนาๆ หลายชั้น ทำให้ตัวถังแทบจะปลอดสนิม
หลังจากลอกสีเดิมออก ขัดกระดาษทราย พ่นรองพื้น  แล้วพ่นสีใหม่ได้เลย
ไม่ต้องปะผุ หรือโป๊ว.... แต่บรรดาส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ก้ามเบรค หลักอาน เบาะ
วงล้อ ซี่ลวดล้อ จุดหมุนทุกจุด ถ้วยคอ กะโหลก ดุมล้อ โซ่ ฯลฯ
องค์ประกอบทุกส่วน เสียหายเกินเยียวยา ต้องเปลี่ยนใหม่หมดทั้งคัน


DIY ป้ายเบอร์ ใช้วิธีตัด sticker ติดบนแผ่นพลาสติกปกแฟ้ม ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป
ตามแผนกเครื่องเขียน
............เสร็จแล้วครับ Let's go....!!!